วันวิสาขบูชา ภาษาอังกฤษ คือ Visakha Bucha ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือ วันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (หากเดือนใดมีเดือน 8 สองหน จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน 7) ซี่งเป็นวันสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนทั่วโลก และถูกยกให้เป็นวันสำคัญสากลระดับนานาชาติตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (Vesak Day) และยังเป็นวันหยุดทางราชการในหลาย ๆ ประเทศอีกด้วย
ประวัติวันวิสาขบูชาโดยย่อ
วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขบูชา และมีประวัติความเป็นมาแห่งวันวิสาขบูชาโดยย่อ ดังนี้
พระนางสิริมหามายา พระมเหสีแห่งพระเจ้าสุทโธทนะศากยราชา เมื่อทรงครรภ์ได้ 10 เดือน มีความประสงค์จะกลับไปประสูติพระราชบุตรที่เมืองเทวทหะซึ่งเป็นบ้านเกิด แต่ระหว่างการเดินทางได้ทรงเกิดเจ็บพระครรภ์ และได้ทรงประสูติพระโอรส ณ ใต้ร่มไม้สาละ โดยประทับยืนและจับกิ่งสาละด้วยพระหัตถ์ ครั้นประสูติแล้ว พระโอรสทรงเดิน 7 ก้าว โดยมีดอกบัวมารองรับพระบาท และได้พระนามว่า “สิทธัตถะ”
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนม์มายุ 35 พรรษา ได้ตัดสินใจทรงผนวชด้วยตนเอง ทรงบำเพ็ญทุกกิริยาจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา (พุทธคยาในปัจจุบัน) หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี จากนั้นได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนา โดยทรงเผยแพร่หลักธรรมคำสอนยังที่ต่าง ๆ ทั่วชมพูทวีปเป็นเวลา 45 ปี และ เสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา
วันวิสาขบูชา ความสำคัญทางพุทธศาสนา
วันวิสาขบูชา เหตุการณ์สำคัญอันน่าอัศจรรย์ของพระโคตมพุทธเจ้า ได้แก่
- ซึ่งเป็นวันที่พระนางสิริมหามายาทรงให้กำเนิดเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งถือเป็นวันเกิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
- วันตรัสรู้ วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนโปรดสัตว์โลกให้พ้นทุกข์ตามรอยพระองค์
- วันปรินิพพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขันธ์ปรินิพพาน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เช่นเดียวกัน แต่ต่างปี
วันวิสาขบูชา หลักธรรมสำคัญมีอะไรบ้าง
หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ได้ทรงสอนถึงเรื่องของ จตุราริยสัจ หรือ อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือ ความจริงที่ทำให้ผู้ที่เข้าถึงเป็นอริยะ อันเป็นหลักธรรมที่อธิบายสาเหตุแห่งความทุกข์ และ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา มีดังนี้
- ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้หญิง หรือว่า ผู้ชาย
- สมุทัย คือ เหตุแห่งความทุกข์ เพราะความทุกข์ทุกประการย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีเหตุปัจจัย หลักธรรมข้อนี้จึงชี้ให้เห็นเหตุแห่งความทุกข์ เพื่อจะได้ละเว้น จะได้ไม่เกิดควาทุกข์
- นิโรธ คือ ความดับทุกข์ การดับปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์
- มรรค คือ ข้อปฏิบัติที่ช่วยในการดับทุกข์ แก้ปัญาต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป ทำให้พ้นจากความทุกข์